Full Gospel Assemblies of Thailand

องค์การพระกิตติคุณสมบูรณ์สัมพันธ์ในประเทศไทย

English French German Russian

Cristmas Day

Christmas History

ประวัติความเป็นมา

    คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ (Christmas) ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า “บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า” คำว่า “Christes Maesse” พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษ (เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1038) และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

   ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาสซึ่งเป็นวันประสูติของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในรัชกาลของจักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรีย ก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 23 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิซาไกกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ

    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 – ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

christmas

คำอวยพร Merry Christmas

       คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่า”สันติสุขและความสงบทางใจ” คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาล คริสต์มาส ชาวไทยฉลอง”เฉลิมพระชนม์พรรษา” วันที่ 5 ธันวาคมเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระมหากษัตริย์ ทุกปีชาวโรมันมีการระลึกถึงการสมภพของพระเจ้าจักรพรรดิ คนท้องถิ่นอื่นก็ระลึกถึง และเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์หรือผู้ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความยินดี แม้แต่ชาวยิวในสมัยของ พระเยซูเอง ก็ฉลองการเกิดของกษัตริย์ เฮรอด เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ชาวคริสต์ สมัยโบราณถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึก ถึงการบังเกิดของพระเยซูที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณี นี้ ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษ ที่ 4 และ ค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

        เราจะเห็นได้ว่าวันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระบุตรของพระเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระองค์เป็นพระเจ้า ที่จะอยู่กับเราตลอดไปเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เป็นพี่หัวปีที่จะนำมนุษย์ทั้งมวลไปสู่พระบิดาเจ้า พระองค์เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ ตามคำ สัญญาของพระเจ้าที่จะดูแลป้องกันรักษาเราผู้เป็นประชากรของพระองค์ เราเป็นเหมือนลูกแกะที่หายไป แต่พระเยซูเป็นชุมพาบาลใจดี ที่ ตามหาเราจนพบ และจะไม่มีอะไรที่จะแยกเรากับพระองค์ได้อีกเลย มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนจะรวยหรือจน คนศรัทธาหรือ คนบาป ล้วนมีความสำคัญต่อหน้าพระเจ้าเสมอ เพราะตั้งแต่การเสด็จมาบังเกิดของพระเยซูนั้น พระเป็นเจ้าพระบิดา ทรงเห็นพระฉายาลักษณ์ของพระบุตรในมนุษย์ทุกคน เราก็เช่นเดียวกัน เราต้องรักซึ่งกันและกันเหมือนอย่างที่เรารักพระเจ้า มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนเหล่านั้น จะเป็นคนยากจน คนต่างชาติ หรือคนที่วางตัวเป็นศัตรูกับเรา”เขาจะรักพระเจ้าที่เขามองไม่เห็นได้อย่างไร ถ้าเขาไม่รักพี่น้องที่มองเห็นได้” นี่แหละเป็นพระดำรัสที่พระเยซูประทานแก่เรา คนที่รักพระเจ้าต้องรักพี่น้องของตนด้วย

ต้นคริสต์มาส

    ต้นคริสต์มาส ในสมัยโบราณหมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากินและทำบาปไม่เชื่อฟังพระเจ้า ตั้งแต่ ศตวรรษที่11 ชาวคริสต์แสดงละครที่หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาสและเอาตันไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลางเพื่อประดับฉาก แสดงถึง บาปกำเนิดของอาดัมและเอวาต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่หาง่ายที่สุดในประเทศเหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปีจนถึงศตวรรษที่15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้นกลายเป็นการเล่น เหมือน ลิเกล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนาซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง
    ชาวบ้านรู้สึกเสียดายที่ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆแบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของ ตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน เพราะต้นไม้เป็นจุดเด่นในลานวัด ที่เขาเคยร่วมสนุกกัน จากนั้นก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ลและแขวนแผ่นขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหา สนิท ซึ่งก็มีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็กลายเป็นขนมและของขวัญ อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
     แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาสมีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ก็ยัง นิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่ามีความหมายถึงพระเยซู ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึงนิรันดรภาพของพระเยซู และนอกจากนั้น ยังหมายถึงความสว่าง ของพระองค์เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยัง หมายถึงความชื่นชมยินดีและความสามัคคีที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น

ซานตาครอส

    ซานตาครอสเป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ที่เด็กและผู้คนนิยมกันมากที่สุดในเทศกาลคริสต์มาส แต่ที่จริง ซานตาครอสแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาครอส มาจากนักบุญ นิโคลาส เป็นนักบุญ ชาวฮอลแลนด์นับถือเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษา ประเพณีนี้ไว้ คือฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วม ในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ ประเพณี นี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและ แพร่หลายไปในอเมริกา โดย มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่อ้วนใส่ชุดสีแดงอาศัย อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อน เป็นยานพาหนะมีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมา ทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้ เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติ ของเขา?

    ลักษณะภายนอกของซานตาคลอสที่ถูกสมมติขึ้นนี้ เหมือนกับจะลอกเลียนแบบมาจาก Thor ซึ่งเป็น เทพเจ้า ในนิยายโบราณของเยอรมัน และ ลอกเลียนแบบนักบุญนิโคลาส ที่นำของขวัญมาแจกเด็กๆ อันที่จริง ซานตาคลอส เป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่ อาจจะทำให้คน ทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระ เยซู ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง ของเทศกาลคริสต์มาสนี้

ถุงเท้า

    จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาส ไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง

 

การทำมิสซาเที่ยงคืน

    เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็น เวลาเที่ยงคืน พระสัน ตะปาปาก็ทรงถวายบูชา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อ สัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระ สันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติ ของพระองค์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมี ธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน

เทียนและพวงมาลัย

    ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบ เป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้นในตอน กลางคืนของวันอาทิตย์ แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุก อาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อน คริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยม และแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งต่อมา มีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรง กลาง 1 เล่มไป แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่าน ไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็น สัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ ของพระเป็นเจ้า

      ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

      COPPY  บทความและรูปภาพจากเว็บไซต์ http://scoop.mthai.com