Full Gospel Assemblies of Thailand

องค์การพระกิตติคุณสมบูรณ์สัมพันธ์ในประเทศไทย

English French German Russian

อาหารบัลดาลสุข

ทับทิม สรรพคุณมหัศจรรย์

 ทับทิม อร่อยอย่างมีคุณค่า

ทับทิม พืชที่รู้จักกันมาช้านาน

ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งก้าน โคนต้นมีกิ่งที่เปลี่ยนไปเป็นหนามยาวแข็ง ใบเดี่ยว แผ่นใบแคบ ขอบในเป็นรูปขอบขนาน

ยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบออกเป็นคู่ ตรงข้ามกัน หรือใบออกสลับกัน หรือออกเป็นกระจุก 2-3 ใบ

มีดอกเป็น ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงหนาสีแดง ผลเมื่อแก่จัดจะมีเปลือกแดงปนชมพูปนน้ำตาลเหลือง ถ้ากลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ผลแก่จัดสีเหลืองปนน้ำตาล ผลกลมโตแล้วแต่พันธุ์เปลือกนอกของผลหนาค่อนข้างเหนียว
เปลือกด้านในสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก อัดกันแน่นเต็มเปลือก แต่ละเมล็ดมีเนื้อสีชมพู หรือสีแดงลักษณะใส มีรสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว ผลทับทิมเป็นผลชนิด “Balausta” ด้วยเมล็ดภายในมีสีแดงสดเหมือนทับทิมอัญมณีที่ทรงคุณค่า มันจึงได้รับชื่อว่า “ทับทิม” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Punica grannatum และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Pomegranate ในภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Grandada และ Grenede ตามลำดับ  ทับทิมมี ถิ่นกำเนิดจากประเทศอิหร่าน แล้วแพร่ขยายมาสู่ดินแดนเทือกเขาหิมาลัยและตอนเหนือของอินเดีย นอกจากนั้นยังมีการเพาะปลูกถึงทางต้นใต้ของเอเชียและกระจายไปสู่แคลิฟอร์เนีย โดยผู้อพยพชาวเสปน ในปี ค.ศ. 1769

ทับทิม เป็นผลไม้โบราณที่มีอยู่ในตำราอาหารหลายชนชาติต่างๆ มาช้านาน เช่น
- ชาวอียิปต์ยุคโบราณปรุงไวน์ให้มีกลิ่นหอมจากทับทิม
- ชาวกรีกถือว่าทับทิมเป็นผลไม้แห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ ในประวัติศาสตร์พบว่าได้มีการนำทับทิมมาทำเป็นยารักษาโรคตั้งแต่ 8,000 ปีมาแล้ว
- ในประเทศเปอร์เซียโบราณมีความเชื่อว่าคุณค่าทางอาหารทุกชนิดที่มีอยู่ในผล ไม้ต่างๆ นั้นรวมกันอยู่ในทับทิม
- ด้วยเหตุผลที่ผลทับทิมมีเมล็ดมากอยู่ภายในชาวจีนซึ่งเรียกทับทิมว่า “เจี๊ยะลิ้ว” จึงเชื่อว่าทับทิมเป็นผลไม้ดี นิยมปลูกในบ้าน

ทับทิม เป็นผลไม้ที่ได้รับการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ในทับทิมมี สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งมีมากทั้งในเปลือก เมล็ด และน้ำทับทิม

ในผลทับทิมมีวิตามินมากมายหลายชนิด รวมทั้งแมกนีเซียมและแคลเซียม ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบฟอกโลหิต และระบบการหมุนเวียนในร่างกาย

 

 

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย
ส่วนที่ใช้เป็นยาคือเปลือกของผลที่โตเต็มที่ มีรสฝาด
ใช้เปลือกผลแห้ง 1 ส่วน 5 หรือ 1 ส่วน 4 ของผล ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ
รับประทานครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร วันละ 1-2 ครั้ง หรือใช้เปลือก ของผลต้มกับน้ำปูนใสดื่มแต่น้ำ
การรับประทานเช่นเดียวกับที่ใช้ฝนกับน้ำปูนใสใช้บรรเทาอาการท้องเสีย
การที่เปลือกของผลทับทิมช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้
เพราะว่ามีสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารฝาดสมาน
นอกจากนี้ยังใช้รักษาน้ำกัดเท้า โดยใช้เปลือกผลทับทิมฝนกับน้ำสะอาดให้ข้นๆ ใช้ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า วันละ 4-5 ครั้งจนกว่าจะหาย

คุณค่าทางโภชนาการและสุขภาพ
เนื่องจากทับทิมมีสารโพลีฟีนอล (polyphenols) ปริมาณมากและส่วนใหญ่เป็นชนิด hydrolysable tannins (สาร tannin เป็นสารที่มีรสฝาดมักพบในไวน์แดง)
นอกจากนี้ยังมี puracaligins ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการทำหน้าที่เป็น antioxidant หรือเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สารดังกล่าวเหล่านี้สามารถ ได้มาจากน้ำของทับทิม ในเมนูของนักโภชนาการหลายๆ เมนูก็ประกอบด้วยน้ำทับทิมและเมล็ดของทับทิม (อุดมไปด้วยไฟเบอร์)เป็นส่วนผสม เมล็ดและการรักษาของน้ำทับทิม

พบว่าน้ำทับทิมมีประสิทธิภาพลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ซึ่งรวมถึง LDL oxidation โดยสามารถลดภาวการณ์สะสมไขมันในผนังเส้นเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุตตันและแข็งตัว ซึ่งจะทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือดตามมาช่วยทำให้เส้นเลือดที่หนาตัว และมีไขมันสะสมซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ไม่ดีแล้ว มีความหนาตัวลดลงและช่วยบำรุงหัวในในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยเพิ่มการไหลเวียนที่ดีขึ้นและลดภาวะหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่นานมานี้มีรายงานว่า น้ำทับทิมมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และยับยั้งเซลมะเร็งเต้นนม ทั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจาย นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ป้องกันการเป็นพิษต่อตับ และลดความดันโลหิตลงได้บ้าง ปัจจุบันน้ำทับทิมได้รับความนิยมบริโภคมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษรวมถึงหลายๆ ประเทศในยุโรป

ประโยชน์อย่างอื่นของทับทิม
เช่น ในประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นสีย้อมสำหรับเส้นใยธรรมชาติ ถึงแม้จะไม่ได้ปลูกทับทิมอย่างแพร่หลาย แต่ก็ได้นำต้นทับทิมมาประดับตัดแต่งเป็นบอนไซด้วยเหตุผลที่ทับทิมให้ดอกสีแดงสวยสด

จากประโยชน์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาทั้งคุณค่าทางโภชนาการคุณค่าทางการรักษาโรคและคุณค่าทางการตกแต่ง จะพบว่าต้นทับทิมเป็นพืชที่มีประวัติมาช้านานและเป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าอย่างมหัศจรรย์

รพ.ธรรม ศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ วิชาการดอทคอม
ที่มา
www.hospital.tu.ac.th
ร่วมกับ http://www.vcharkarn.com/varticle/41187