อาหารบัลดาลสุข
เรื่องบวบๆ
ชื่อสามัญ : Angled gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luffa acutangula (Linn.) Roxb.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อ : บวบงู
ชื่อสามัญ : Snake gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes cucumerina Linn.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อ : บวบหอม
ชื่อสามัญ : Sponge gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luffa cylindrical (Linn.) M.J Roem
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ลักษณะทั่วไปของบวบ
สีของดอกบวบจริง ๆ ก็เป็นอย่างที่คนเก่าคนแก่เขาชอบเปรียบกันนั้นเอง นอกจากทองดอกบวบก็มี “เหลืองดอกบวบ” คือ สีเหลืองสด ที่เย็นตา ไม่จัดจ้าร้อนแรงเหมือนสีเหลืองโทนอื่น ๆ ซึ่งเป็นสีในวรรรณะร้อน คำเปรียบเหล่านี้แปลว่าคนไทยคุ้นเคยกับบวบเป็นอย่างดีมานานแสนนาน
บวบไม่ค่อยขึ้นเองเหมือนตำลึง หากอยากรับประทานคงต้องปลูก ต้องทำซุ้มหรือค้างไว้ให้ยึดเกาะ ปลูกง่ายและกินง่าย ไม่ว่าเป็นบวบชนิดไหน หากอยากให้เด็กที่มักเกลียดชังผักสีเขียวทั้งหลายเปลี่ยนใจมาเหลียวแลบ้างละ ก็ บวบก็เป็นผักตัวอย่างชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ขม หรือขมน้อย ไม่ว่าจะเอามาทำอะไรกินก็อร่อย ยิ่งบวบในต้นฤดูฝนจะมีรสหวานนิด ๆ แค่เอามาผัดใส่ไข่ให้สุกนุ่ม อะไร ๆ ก็ชิดซ้ายเลยเชียว ง่ายกว่าวนั้นก็ลวกจิ้มน้ำพริก กินง่ายสบายท้อง เข้าช่วงอากาศเปลี่ยนเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน หรือเดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว แกงเลียงใส่บวบช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและปรับตัวสู้กับอากาศแปรปรวนได้ดี
นอกจากอาหารการกิน บวบยังมีประโยชน์ในเรื่องการใช้สอยอื่น ๆ เช่น เส้นใยของบวบหอมที่เมื่อแห้งแล้วสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุแทนฟองน้ำ ใช้ได้ตั้งแต่ขัดทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งไม่มีสารที่เป็นพิษต่อผิวหนัง แช่น้ำให้ชุ่มก็นุ่มนวลพอดีกับผิวอ่อน ๆ ของเรา หรือถ้าเป็นเส้นใยของบวบแก่มีความเหนียวใช้ขัดถ้วยขัดจานหรืออื่น ๆ ก็ได้ ที่เราเห็นมีวางขายนั้นเป็นเส้นใยของบวบหอม ถ้าใช้บวบชนิดอื่นก็จะคันได้ ยิ่งตอนนี้มีการดัดแปลงเสริมแต่งใยบวบให้สวยงามและใช้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นเย็บให้มีความสวยงามแข็งแรงไม่เปื่อยยุ่ยเร็ว จากใยบวบที่ไม่ค่อยมีราคาก็ค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นมา เวลานี้ก็หาได้ตามห้างหรู ๆ และตามร้านที่ขายสินค้าปลอดสารพิษทั่วไป
ถิ่นกำเนิด
การปลูกและดูแล
บวบพันธุ์ที่นิยมปลูกในเมืองไทยนั้น มักเป็นพันธุ์พื้นเมืองปลูกง่าย และเป็นพืชที่ทนทานต่อโรค แม้เมื่อต้นยังเล็กอาจมีแมลงมากัดกินบ้างแต่ก็น้อย อาจใช้สารสกัดจากสะเดาพ่นบ้างก็ได้ และเมื่อโตสักหน่อยก็เป็นพืชที่แมลงเมิน ไม่สนใจจะลงกินให้เสียเวลาดังนั้นบวบจึงเป็นพืชที่อาจเรียกได้ว่าปลอดสารพิษ เพราะแม้แต่เกษตรกรที่ปลูกเพื่อขายเป็นไร่ ๆ ก็มักไม่ใช้ยาฆ่าแมลงกับบวบ แล้วหากจะปลูกกินเองก็ยิ่งไม่ต้องใช้ ปลูกสบาย ๆ คอยให้ปุ๋ยบ้างก็พอ
บวบต้องการแสงแดดมาก ชอบดินที่เป็นกรดพอประมาณปลูกได้ทุกฤดูกาล แต่หน้าฝนจะดีที่สุดเพราะอากาศมีความชุ่มชื้นขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
การปลูกบวบแบบพอสังเขปมีดังนี้ หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในหลุมซึ่งควรลึกประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร หลุมละ 4 – 5 เมล็ดกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟางเพื่อรักษาความชื้น รดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน ประมาณ 10 -15 วัน ต้นบวบน้อยก็จะค่อย ๆ งอกขึ้นมา เมื่อบวบน้อยของเราอายุสักราว 10 – 15 วัน ต้นก็จะโตพอที่เตรียมเลื้อยเหมือนเผ่าพันธุ์บวบที่เลื้อยกันมานานแสนนาน ระยะนี้จึงควรเตรียมค้างไว้ให้เลื้อยได้แล้ว หรือหากปลูกบวบเป็นพืชสวนครัวก็อาจปล่อยให้เลื้อยไปบนรั้วก็ได้ หากแปลงปลูกไม่มีพื้นที่มากพอที่จะทำค้าง แม้จะได้ชือว่าเป็นพืชที่อดทน แทนทั้งฝน ทนทั้งแล้ง แต่บวบก็ชอบความชุ่มชื้น อย่าปล่อยให้บวบต้องกระหายน้ำเป็นอันขาด มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อการผลิดอกออกผล เช่น ไม่ติดผลหรือผลเล็ก มีข้อแนะนำว่าควรรดน้ำบวบที่โคนต้น ไม่ควรฉีดพ่นเพราะอาจทำให้มีราที่ใบ
หลังจากบวบน้อยกลายเป็นบวบใหญ่ให้ผลลูกแรกก็จะเก็บผลผลิตต่อไปได้อีกเป็นเดือนถึงสองเดือน จากนั้นเถาก็จะโรยราไป
ประโยชน์ของบวบ
บวบเหลี่ยม ผลและเถานำมาเข้าตำรับยาแก้ลม บำรุงหัวใจใบต้มเป็นยาขับปัสสาวะ ใบนำมาตำพอกแก้พิษสัตว์กัดต่อย ผลบวบมีวิตามินหลายชนิด บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน
ดอกบวบนับเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามน่ามองมากทีเดียว มีสีเหลืองนวลเย็นตา มักบานในช่วงเย็น ๆ เย็นย่ำ ถ้าอากาศดี คุณจะลองเปลี่ยนจากการชมดอกไม้ประดับ ในสวนหน้าบ้าน มาเป็นเดินชมดอกบวบตามค้างหรือซุ้ม บางทีรคุณอาจเกิดความรู้สึกใหม่ เป็นความภาคภูมิใจที่ได้ปลูกผักที่มีทั้งดอกสวย ปลอดสารพิษ เปี่ยมประโยชน์ ไว้รับประทานเอง
คัดข้อมูลจาก http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/บวบ