อาหารบัลดาลสุข
เสาวรส(กระทกรกฝรั่ง)
กระทกรก หรือ เสาวรส
กระทกรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.;
ชื่อภาษาอังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower)
ชื่อ พื้นเมืองอื่นๆ รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง
เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ประโยชน์ ทางด้านอาหาร ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด ทางด้านสมุนไพร เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ ผล แก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม
กระทก รก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เสาวรสเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินเอ สูง ทั้งยังช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเส้นเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเสาวรสนั้นมีวิตามินซี สูง คือ ๓๙.๑ มก./๑๐๐ มก. ซึ่งมีมากกว่ามะนาวเสียอีก
เสาวรสมี 2 ชนิดคือชนิดผลสีม่วง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passifloraedulis และผลสีเหลืองที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. edulis F. flavicarpa
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสเป็นผลไม้อุตสาหกรรมคือปลูกเพื่อนำผลผลิตไปแปรรูปเป็น น้ำผลไม้เนื่องจากในผลมีน้ำมาก รสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมแต่ก็สามารถรับประทานผลสดได้ โดยเฉพาะบางพันธุ์ที่ผลมีรสชาติค่อนข้างหวาน สำหรับในประเทศไทยนั้นได้นำเสาวรสเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดยเป็นพันธุ์สีม่วง ต่อมาได้มีผู้นำเข้ามาปลูกอีกในอีกหลายพื้นที่ทั้งพันธุ์ผลสีม่วงและผลสี เหลือง จนกระทั่งได้มีการปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปแต่ก็ปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูป เท่านั้น โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ ระยอง ตราด ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ชุมพร นราธิวาสและสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ส่วนผลผลิตที่จำหน่ายเพื่อบริโภคสดนั้นไม่ใช่พันธุ์สำหรับรับประทานผลสดโดย ตรง แต่เป็นการคัดเอาผลผลิตเสาวรสพันธุ์สำหรับแปรรูปบางพันธุ์ที่มีรสชาติค่อน ข้างดี เช่น พันธุ์ผลสีม่วงมาจำหน่ายเป็นเสาวรสรับประทานสดแทน
ที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มูลนิธิโครงการหลวงและกรมวิชาการเกษตร ได้มีการพยายามวิจัยหาพันธุ์เสาวรสสำหรับประทานสดโดยเฉพาะ เนื่องจากผลผลิตเสาวรสสำหรับรับประทานสดมีราคาสูงกว่าเสาวรสสำหรับแปรรูป มาก ในส่วนของมูลนิธิโครงการหลวงนั้นได้มีการวิจัยหาพันธุ์เสาวรสสำหรับรับ ประทานสดมานานแล้วโดยได้นำเสาวรสสายพันธุ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลียและไต้หวัน มาปลูกทดสอบในสถานีต่าง ๆ ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ, อินทนนท์, ห้วยลึก และแม่ลาน้อย เป็นต้น แต่ในระยะแรกยังไม่มีพันธุ์ไดที่มีลักษณะครบถ้วนตามที่ต้องการคือ ผลผลิตมีรสชาติดีซึ่งต้องค่อนข้างหวาน ขนาดผลใหญ่ให้ผลผลิตสูงและปลูกง่าย เนื่องจากพบว่าเสาวรสพันธุ์สำหรับรับประทานสดส่วนใหญ่ที่รสชาติดี แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กให้ผลผลิตต่ำและค่อนข้างอ่อนแอ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงประสบความสำเร็จคัดเลือกได้เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มีลักษณะตามต้อง การ 2 สายพันธุ์ โดยคัดเลือกจากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน และได้นำออกส่งเสริมในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งพบว่าผลผลิตเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้บริโภคมาก ทำให้ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและต้องเร่งขยายการส่ง เสริมเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในอนาคตอันใกล้เสาวรสรับประทานสดจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิด หนึ่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสาวรสที่ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของฟื้นที่สูงในอเมริกาได้เป็นไม้ประเภทเลื้อย มีอายุหลายปีลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ แต่เสาวรสบางพันธุ์คือพันธุ์ผลสีเหลืองส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้าม ต้น ดอกเสาวรสจะเกิดที่ข้อบริเวณโคนก้านใบของเถาใหม่พร้อมกับการเจริญของเถา โดยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง แต่ถ้าเป็นต้นที่เสียบยอดหรือปักชำจะสามารถออกดอกติดผลได้เร็วขึ้น
ผลเสาวรสเป็นผลเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-70 วันหลังติดผล มีหลายลักษณะ เช่น กลม รูปไข่ หรือผลรียาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ เปลือกผลและเนื้อส่วนนอกแข็งไม่สามารถรับประทานได้ผลมี 2 สีคือผลสีม่วงและผลสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือดำเป็นจำนวนมากแต่ละเมล็ดจะถูกหุ้มด้วยรก ซึ่งบรรจุน้ำสีเหลืองมีลักษณะเหนียวข้นอยู่ภายใน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีความเป็นกรดสูง และส่วนที่นำไปใช้บริโภคก็คือส่วนที่เป็นน้ำสีเหลืองนี้เอง
พันธุ์เสาวรส
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
1. เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)
เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล
2. เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)
ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผล ประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก